วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2554

แนวการสอนเพื่อพัฒนาการคิด

      • แนวที่ 1 การสอนเพื่อพัฒนาการ คิดโดยตรงโดยใช้โปรแกรมสื่อสำเร็จรูป หรือ บทเรียน/กิจกรรมสำเร็จรูป
      สำหรับครูและโรงเรียนที่สนใจจะ พัฒนาความสามารถทางการคิดของนัก เรียนและสามารถที่จะจัดหาเวลาและ บุคคล รวมทั้งมีงบประมาณที่จะดำ เนินการได้ ได้มีผู้จัดทำโปรแกรมและ สื่อสำเร็จรูป รวมทั้งบทเรียน/กิจกรรมสำเร็จ รูปไว้บ้างแล้ว
     • แนวที่ 2 การสอนเนื้อหาสาระต่าง ๆ โดยใช้รูปแบบหรือกระบวนการสอนที่ เน้น การพัฒนาการคิดที่ได้มีผู้ พัฒนาขึ้น
      การสอนเพื่อพัฒนาการคิดในลักษณะ นี้เป็นการสอนที่มุ่งสอนเนื้อหา สาระต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร แต่ เพื่อให้การสอนนั้นเป็นการช่วย พัฒนาความสามารถทางการคิดของผู้ เรียนไปในตัว ครูสามารถนำรูปแบบการ สอนต่าง ๆ ที่เน้นกระบวนการคิดมาใช้ เป็นกระบวนการสอน ซึ่งจะช่วยให้ครู สามารถพัฒนาผู้เรียนได้ทั้งทางด้านเนื้อ หาสาระและการคิดไปพร้อม ๆ กัน
     • แนวที่ 3 การสอนเนื้อหาสาระ ต่าง ๆ โดยพยายามส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนา ลักษณะการคิดแบบต่าง ๆ รวมทั้งทักษะ การคิดทั้งทักษะย่อย และทักษะผสมผสาน ในกิจกรรมการเรียนการสอน
      แนวทางทั้ง 3 นี้น่าจะเป็นแนวทาง ที่ครูสามารถทำได้มากที่สุด และสะดวก ที่สุด เนื่องจากครูสอนเนื้อหาสาระอยู่ แล้ว และมีกิจกรรมการสอนอยู่แล้ว เมื่อ ครูมีความเข้าใจเกี่ยวกับการคิด ตามกรอบความคิดที่ได้เสนอมาข้าง ต้น ครูจะสามารถนำความเข้าใจนั้นมา ใช้ในการปรับกิจกรรมการสอนที่มี อยู่แล้วให้มีลักษณะที่ให้โอกาสผู้ เรียนได้พัฒนา ทักษะการคิด ลักษณะการคิด และ กระบวนการคิดที่หลากหลาย
      กระบวนการ ต่าง ๆ ที่กระทรวงศึกษาธิการได้ส่งเสริมและเผย แพร่ให้ครูใช้ในการสอน ซึ่งได้แก่
• ทักษะกระบวนการ 9 ขั้น
• กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด
• กระบวนกาคิดวิจารณญาณ
• กระบวนการแก้ปัญหา
• กระบวนการสร้างความตระหนัก
• กระบวนการปฏิบัติ
• กระบวนการคณิตศาสตร์
• กระบวนการปฏิบัติ
• กระบวนการเรียนภาษา
• กระบวนการกลุ่ม
• กระบวนการสร้างเจตคติ
• กระบวนการสร้างค่านิยม
• กระบวนการการเรียนความรู้ ความ เข้าใจ
                ตัวอย่างการสอนที่เน้นกระบวนการ คิดระดับอนุบาล
ตัวอย่างการสอนหน่วยอุบัติเหตุ วันที่ 1 เรื่อง ของมีคม
       กิจกรรมวงกลม
ครู : (นำภาพต่าง ๆ มาให้นักเรียนดู) ให้เด็ก ๆ ทาย ว่าภาพที่ครูให้ดู อยู่ช่องไหน
     ยกภาพ "มีดปังตอ" ให้ดูและทาย จากนั้น ติดบนกระดานในช่องซ้าย (การสังเกต,
     "กรรไกร" ให้ดูและทาย จากนั้นติดบน กระดานในช่องซ้าย การสำรวจ,
     "ลูกบอล" ให้ดูและทาย จากนั้นติด บนกระดานในช่องขวา
    "เสือ" ให้ดูและทาย จากนั้นติดบน กระดานในช่องขวา คิดรวบยอด)
ครู : (ยกภาพ "ดาบ" ให้ดู) ภาพนี้ต้องอยู่ช่องไหน คะ
กุ้ง : (ชี้ที่ช่องซ้าย) อยู่ช่องนี้ค่ะ (การตั้งสมมติ ฐานเพื่อสร้างความคิดรวบยอด)
ครู : ทำไมกุ้งถึงคิดว่าช่องนี้คะ
กุ้ง : เพราะดาบต้องอยู่กับมีด กับกรรไกร ไม่ใช่ กับลูกบอล ค่ะ (การจัดหมวดหมู่)
ครู : มีด กรรไกร กับ ดาบ เหมือนกันตรงไหนคะ (การสังเกต)
นิ่ม : มันคมเหมือนกันค่ะ (การให้คำจำกัดความ)
อู๊ด : มักแทงเราได้ครับ (การให้คำจำกัดความ)
ครู : มันลุกมาแทงเราได้หรือคะอู๊ด
อู๊ด : ไม่ใช้ครับ ถ้ามีคนถือไม่ดีมา โดนเรา หรือมันวางอยู่บนพื้น เราไปเหยียบ มันก็แทงเราได้ครับ (การทำให้กระจ่าง)
ครู : งั้นหรือคะ งั้นลองมาช่วยกันคิดซิ คะ ถ้าครูเอากรรไกรของครู (หยิบขึ้นมา ให้เด็ก ๆ ดู) วางทิ้งที่พื้นห้อง (วางลงบนพื้น) ตอน เด็ก ๆ พักกินข้าว แล้วพอเด็ก ๆ กลับเข้ามาจะ เกิด อะไรขึ้น (ถามกระตุ้นให้คิดไกล)
นัท : ต้องมีใครเดินไปเหยียบ แล้วเลือดออก แน่ ๆ เลย (คิดไกล)
หมู : แต่ถ้าหมูเห็นเข้า หมูจะเอาไปไว้ ที่โต๊ะครู (คิดไกลอย่างถูกทาง)
ครู : ทำไมล่ะคะ
หมู : จะได้ไม่มีใครโดนกรรไกรเจ็บครับ (การให้เหตุผล)
ครู : ถ้างั้นเรามาช่วยกันคิดดีมั๊ยคะว่า เราจะทำยังไงกับของที่มีคม ๆ แทงให้เราเจ็บเลือดไหลได้ เหล่านี้ (การให้คำจำกัดความ) (การถามให้คิดกว้างอย่างถูกทาง)
แป้ง : เราจะไม่เอามีดมาเล่น
นิด : หนูจะเสียบมีดไว้ในช่องใช้มีดค่ะ
ป๊อป : ถ้าป๊อปเจอดาบที่ไหน ป๊อปจะเก็บไปให้คุณครู ไม่ใช้ใครมาเล่น (การคิดกว้างและการคิดไกล)
เหน่ง : เหน่งจะห้ามเพื่อน ๆ ที่เอากรรไกรมาเล่นค่ะ
................................................................................
             ระหว่างการสนทนา ครูจดคำสำคัญบนกระดานที่เด็กพูดมาไปเรื่อย ๆ (สาธิตการระบุประเด็นสำคัญโดยการเขียนให้ดู) และในตอนท้าย ครูทำแผนภูมิแสดงโครงสร้างความสัมพันธ์ของความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับของมีคม จากคำสำคัญต่าง ๆ บนกระดาน (สาธิต/การจัดระบบข้อมูลและการสร้างโครงสร้างความรู้โดยการเขียนใด้ดู) แล้วถามนำให้เด็ก ๆ ช่วยกันสรุปความรู้ที่เขียนในวันนี้ โดยอาศัยแนวทางจากแผนภูมิบนกระดาน (ฝึกการอ่านแผนภูมิและการพูดบรรยาย และ/หรืออธิบายความรู้)
      โยนิโสมนสิการ (อ่านว่า โยนิโส-มะนะสิกาน) แปลว่า "การทำไว้ในใจโดยแยบคาย, การพิจารณาโดยแยบคาย" หมายถึง ความเป็นผู้ฉลาดในการคิด คิดอย่างถูกวิธีถูกระบบ พิจารณา ไตร่ตรองสาวไปจนถึงสาเหตุหรือต้นตอของเรื่องที่กำลังคิด คือคิดถึงรากถึงโคนนั่นเอง แล้วประมวลความคิดรอบด้านจนกระทั่งสรุปออกมาได้ว่าสิ่งนั้นควรหรือไม่ควร ดีหรือไม่ดี

ขอขอบคุณที่มา : ส่วนหนึ่งของเอกสารประกอบการเรียนวิชานวัตกรรมฯ  ดร.สมจิต  สงสาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น